ภูมิแพ้… ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
อุบัติการณ์การเกิดโรคภูมิแพ้ (Allergy) เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่ามีการเพิ่มขึ้น 3 - 4 เท่า ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา โดยในประเทศไทยพบผู้ป่วย โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ - 30 โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคหืดร้อยละ 10 - 15 โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 15 และโรคแพ้อาหารร้อยละ 5
นอกจากนี้ภูมิแพ้ยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบ นอนกรน การเป็นภูมิแพ้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดน้อยลง ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ มีทั้งที่ทุกข์ทรมานมากจนต้องพักฟื้นอยู่กับบ้าน และที่คุมอาการจนสามารถทำงานได้ใกล้เคียงปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการ และการดูแลรักษาของผู้ป่วยแต่ละคน
สาเหตุที่ทำเกิดโรคภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ สภาพแวดล้อมที่เราอยู่อาศัย พฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน นอน การพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม ความเครียด ฝุ่นควันทั้งในที่พักอาศัยและบนท้องถนนในระหว่างการเดินทาง ล้วนทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้
นอกจากนั้นสุขภาพร่างกายของเรา และกรรมพันธ์ุก็มีส่วนทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น บุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้สูงกว่าบุคคลอื่น ๆ ไม่เพียงเท่านั้นพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่างก็ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ อาทิ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และได้รับสารเคมีบางชนิดอีกด้วย
อาการของโรคภูมิแพ้ 1. อาการที่เกิดขึ้นจากระบบทางเดินหายใจ ซี่งเราสามารถสังเกตได้จาก อาการคัน คัดจมูก น้ำมูกไหล จนกระทั่งอาจเกิดอาการรุนแรงขึ้น หากพบว่า มีอาการไอ มีเสมหะ และอาการหอบร่วมด้วย 2. อาการที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง ในบางคนอาจพบว่าตนเองมีอาการลมพิษหรือภูมิแพ้มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจมีอาการคัน ผดผื่นขึ้นตามตัว อาการแดง มีตุ่มนูนคันเกิดขึ้น และเป็นปื้นใหญ่นูนแดง ซึ่งมักเกิดจากการแพ้อาหาร ลมพิษ หรือแพ้แมลงที่ดัดต่อยก็เป็นได้ 3. อาการที่เกิดขึ้นจากระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ส่วนใหญ่จะเกิดจากการแพ้อาหาร 4. อาการที่เกิดขึ้นหลายระบบในร่างกาย และพบว่ามีความรุนมาก ซึ่งระดับความรุนแรงมากโดยมักมีอาการหอบ ลมพิษ ช็อค หรืออาจเสียเสียชีวิตได้เลย สาเหตุมาจากการแพ้อาหารบางชนิดอย่างรุนแรง
วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ 1. รักษาโดยรับประทานยาแก้แพ้ ยากลุ่มที่ใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้มีทั้งหมด 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มดั้งเดิม ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine) ที่เข้าไปช่วยลดการหลั่งสารฮิสตามีน ข้อเสียของยากลุ่มนี้คืออาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ กลุ่มต่อมาคือ กลุ่มยาที่ใช้ต้านฮิสตามีน โดยไม่ทำให้ง่วงซึม ได้แก่ เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) เซทิริซีน (Cetirizine) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเป็นกลุ่มยาที่ไม่เข้าไปรบกวนระบบประสาททำให้ไม่เกิดอาการอ่อนเพลียและง่วงซึมขึ้น 2. รักษาโดยการฉีดวัควีน สำหรับการฉีดวัคซีนคือการเอาสารก่อภูมิแพ้ฉีดเข้าไปภายในร่างกาย มีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดอาการแพ้ขึ้นอีก ซึ่งสามารถฉีดได้นับตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป 3. รักษาโดยการปรับพฤติกรรมของตัวเอง สิ่งที่สำคัญที่ช่วยในการรักษาอาการภูมิแพ้โดยที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาทิ หลีกเลี่ยงหรือพยายามออกห่างสิ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ ทำความสะอาดบ้านอย่างเป็นประจำ ออกกำลังกาย พยายามไม่ให้ตัวเองเครียดโดยการหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบห้าหมู่ และบำรุงร่างกายตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
ที่มา : www.health2click.com
|