[close]
choosewithcareclub.com
go to facebook YouTube
HOME ABOUT US HEALTH CARE SHARE YOUR STORY NEWS CONTACT

การแก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น

การแก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น

รูปประกอบจาก hilight.kapook.com


การแก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น


          หลายคนที่ติดตามข่าว คงพอจะรู้ว่าฝุ่นพิษโดยเฉพาะ PM 2.5 เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และแน่นอนว่าในแต่ละสาเหตุ แต่ละพื้นที่ต้องใช้วิธีแก้ที่แตกต่างกัน วันนี้เรามาดูมาตรการลดควันพิษของบางประเทศกัน


          จีน มีหลายมาตรการ ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ เช่น การรณรงค์ให้ลดการทำอาหารปิ้งย่าง ของทอด ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (ข้อมูลจาก workpointnews.com) ในขณะที่การออกมาตรฐานจำกัดการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีมาตรการลงโทษอย่างจริงจังกับประสบความสำเร็จ โดยมีการปรับและปิดโรงงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกว่า 2,500 โรงงาน (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews) นอกจากนี้ บริษัทใหญ่ ๆ ยังต้องเขียนแผนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นในการตรวจตราและทำโทษ ตลอดจนมีการลงทุนสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดและพลังงานลม เท่าที่ควร มีการรณรงค์ให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ กับผู้ซื้อ มีนโยบายตรึงราคาน้ำมันให้สูงเพื่อให้การใช้พลังงานน้ำมันของประชากรลดต่ำลง (ข้อมูลจาก workpointnews.com)


           
อินเดีย รัฐบาลอินเดียแก้ปัญหาการจุดเตาไฟด้วยการแจกแก๊ส LPG ให้ชาวบ้านหลายล้านคน (ข้อมูลจาก www.cogitasia.com) มีมาตรการควบคุมการเล่นดอกไม้ไฟตามเทศกาลต่าง ๆ มีการรณรงค์ให้เกษตรกรใช้การไถกลบ เพื่อลดการเผาวัสดุทางการเกษตร มีการขอความร่วมมือกับภาคธุรกิจให้ช่วยซื้อเศษฟางข้าว มีการแต่งเพลงชักชวนให้เกษตรกรหยุดเผา (ข้อมูลจาก workpointnews.com)

           สำหรับที่เมืองหลวง ยังมีการสั่งให้รถบริการสาธารณะเปลี่ยนมาใช้พลังงานแก๊ส CNG พร้อมกันนี้ก็จัดให้สร้างสถานีแก๊สทั่วเมือง นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนให้คนออกมาปั่นจักรยานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การต่อรองกับภาคธุรกิจถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากรัฐบาลเองก็ต้องการรักษากำลังการผลิตของภาคเอกชนไว้ (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


           ฟิลิปปินส์ มีการออกกฎหมายในระดับครัวเรือน (Ecological Solid Waste Management) เพื่อลดการเผาขยะ โดยกำหนดโทษสำหรับการเผาขยะในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสำหรับการแก้ปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่าและการเผาวัสดุการเกษตรอีกด้วย (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


           สิงคโปร์/มาเลเซีย มีการจัดทำโร้ดแมป “ข้อตกลงอาเซียนเรื่องปัญหาหมอกควันข้ามแดน” ระหว่างมาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย เพื่อป้องกันปัญหาหมอกควันจากไฟป่าที่พัดมาจากอินโดนีเซีย จากการลักลอบเผาป่าในเกาะบอร์เนียวและสุมาตราเพื่อเคลียร์หน้าดินทำเกษตรกรรม (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


           เยอรมัน ประเทศเยอรมันมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ บางเมืองคนมีรถจะน้อยกว่าคนใช้ขนส่งสาธารณะอีก นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานการผลิตรถสาธารณะที่สูง โดยมีการระบุว่ารถยนต์ที่จะวางขายในพื้นที่ได้ต้องผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ “Euro 6” แล้วเท่านั้น เทียบกับประเทศไทยจะผ่านที่ระดับ “Euro 4” ก็สามารถใช้ได้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีการมอบเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยบางแห่งอำนวยความสะดวกเรื่องจุดชาร์จไฟและที่จอดรถพิเศษด้วย (ข้อมูลจาก workpointnews.com)


           ญี่ปุ่น กระบวนการตรวจสอบรถยนต์เก่าของกรุงโตเกียวมีประสิทธิภาพมาก โดยหากรถยนต์นั้นไม่ผ่านการตรวจสอบจะไม่สามารถวิ่งบนถนนได้ เพราะจะมีการตรวจเช็กอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่บางเมืองมีการออกแบบผังเมืองให้เป็นเมืองที่มีขนาดกะทัดรัด และอำนวยความสะดวกให้ประชากรด้วยรถราง นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าด้วย (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


       

           นอกจากนี้ ในบางเมืองยังมีการควบคุมปริมาณรถที่วิ่งเข้าเมือง เช่น จัดวันวิ่งเข้าเมืองตามเลขทะเบียนคู่-คี่ เก็บเงินค่านำรถเข้าในพื้นที่ใจกลางเมือง การสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าในหลากหลายรูปแบบ เช่น การงดภาษีรถยนต์หรือค่าใช้จ่ายรายปี (ข้อมูลจาก workpointnews.com)

           ในเรื่องโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ หลาย ๆ ประเทศได้มีการปรับลด หรือทยอยปิดเป็นระยะ เช่น การตั้งเป้าลดการใช้พลังงานถ่านหินเหลือ 40% ในปี 2030 ของอินเดีย การตั้งเป้าลดการใช้พลังงานถ่านหิน 50% ของจีน รวมถึงการประกาศยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2525 ของรัฐบาลอังกฤษ (ข้อมูลจาก workpointnews.com)

           สำหรับเมืองไทยปัจจุบัน ยังคงมีปัญหาควันพิษอยู่จากหลายสาเหตุ ซึ่งภาครัฐและประชาชนต้องหาแนวทางการแก้ไขต่อไป


           มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “การแก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ



Home >>
Flemex-AC OD

Recent Post
รวมวิธีรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

รู้จัก 5 รูปแบบการไอ เพื่อบรรเทาอาการอย่างถูกจุด

“สารสกัดจากดอกคาโมมายล์” หนึ่งในส่วนผสมที่ควรมองหาใน เม้าท์ สเปรย์

ไม่ใช่แค่ละลายเสมหะ..NAC กับการใช้รักษาอาการหรือโรคอื่น

เจาะลึกถึงสาเหตุที่นำไปสู่อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

3 ยาที่ต้องมีติดบ้านเพื่อรับมือ “ไข้หวัดแดด”

“เฟลมโมมายล์ เม้าท์ สเปรย์” (Flemomile Mouth Spray) สเปรย์สำหรับช่องปาก สูตรปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์

"กาวชันผึ้ง" (Propolis) สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติช่วยแอนตี้ไวรัส

สุขใจปีใหม่ ดูแลกันให้นาน ๆ

9 วิธีปรับปรุงชีวิตคู่ให้ดีขึ้น

คาโมมายล์ สมุนไพรที่ช่วยให้ผ่อนคลายและบำรุงสุขภาพ

สุขภาพดี ท้าหนาว

RSV ไวรัสตัวร้าย ปล่อยไว้อันตรายถึงแก่ชีวิต

เฟลมโมมายล์ เม้าท์ สเปรย์ เอาใจคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

คัดจมูกอย่าปล่อยไว้นาน

ชิว ๆ เตรียมตัวรับความหนาวที่มาพร้อมกับความสุขใจ

ภูมิแพ้… ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

Review: FLEMOMILE เม้าท์ สเปรย์ ตัวช่วยในวันที่เจ็บคอ (ไม่พูดเยอะ)

หนาวแล้ว ปลายฝน รับต้นหนาว

สุขใจ อิ่มบุญ ในช่วงกินเจ

ชีวิตคิดบวก สู้โควิด

เที่ยวแบบ New Normal เทรนด์ใหม่ยุคโควิด-19

ไอจนเจ็บหน้าอก

“สุขดี” ที่ใจและกาย

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่ รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19

New normal ในโลกหลัง COVID-19 ที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิม

อันตรายจาก “ความชื้น”


ประโยชน์ของสารสกัดจากดอกคาโมมายล์และโพรพอลิส


เทรนด์ธุรกิจแบบ Health Focus ที่มาแรงในวันนี้



« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
Neurotex

Aquamaris




เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา
หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา
HOMEABOUT USSHARE YOUR STORYNEWSCONTACT
 
  
view