5 ช่องทางติดหวัดจากโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี
โรงเรียนเป็นสถานที่ที่รวบรวมเอาเด็ก ๆ ไว้หลากหลายครอบครัวเพื่อให้การศึกษา เป็นสถานที่ที่นอกจากการเรียนแล้ว เด็กจะได้ทั้งกิน เล่น และทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันตลอดทั้งวัน ซึ่งช่วงเวลาที่อยู่นอกสายตาคุณพ่อคุณแม่แบบนี้ ก็คงอดที่จะเป็นห่วงในเรื่องของสุขอนามัยไม่ได้ เพราะเด็ก ๆ มักจะไม่ค่อยระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพมากนัก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ต้องคอยแนะนำและดูแลในส่วนนี้ต่อไป
โรคหวัดยอดฮิตเด็กวัยเรียน โรคหวัดเป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 - 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล ในห้องเรียนมีเด็กอยู่กันหลายคน แต่ละคนอาจมีเชื้อไวรัสไข้หวัดคนละชนิด รวม ๆ กันแล้วในห้องนั้นอาจมีเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันถึง 10 - 20 ชนิด เด็กในห้องนั้นก็จะหมุนเวียนกันติดเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันจนครบ ซึ่งอาจใช้เวลา 3 - 4 เดือน เรียกว่าตลอดทั้งเทอม จึงผลัดกันเป็นไข้หวัดอยู่บ่อย ๆ เมื่อรับเชื้อจนครบ ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทุกตัวที่มีอยู่ในห้องนั้น เด็กก็จะห่างหายจากไข้หวัดไปในที่สุด เพราะไข้หวัดสามารถแพร่ได้ทั้งสารคัดหลั่งอากาศ หรือแม้แต่การคลุกคลีกัน ดังนั้นเมื่อลูกมีน้ำมูกใส จาม คัดจมูก บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว หรือไอตามมา คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรีบหาทางรักษา
วิธีป้องกันโรคหวัดจากโรงเรียน
1. เตรียมป้องกันตามฤดูกาล หากอยู่ในหน้าฝน ก็ควรมีเสื้อกันฝนติดไว้ในกระเป๋าเป้ให้ลูกเสมอ หรือหากอยู่ในหน้าหนาว เรื่องเสื้อผ้าหนา ๆ ก็ต้องสวมใส่ตลอด และนอกจากนั้นยังควรหมั่นสังเกตสถานการณ์ความเป็นไปของสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างในปัจจุบันจะเป็นเรื่องของฝุ่นพิษ PM 2.5 กำลังเป็นปัญหาหลักอยู่ แม้ว่าบางโรงเรียนจะงดให้การเรียนการสอน แต่ก็ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่เปิดตามปกติ ดังนั้น เรื่องหน้ากากป้องกันฝุ่นพิษขนาดเล็กจึงมองข้ามไม่ได้เลย และหากมีเสื้อคลุมกันลม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจัดหาให้ลูกด้วย เพราะฝุ่นชนิดนี้มีขนาดเล็กมากและเข้าสู่ร่างกายได้ตามช่องทางต่าง ๆ
2. ระวังโรคระบาด ทุก ๆ วัน เด็ก ๆ มักจะมีเรื่องเล่ากลับมาบ้าน เช่น เพื่อนเป็นเหา คนนี้เป็นผื่น คนนู้นน้ำมูกไหล ลองเสียสละเวลาตั้งใจฟังลูก ๆ พูดคุยถึงเรื่องนี้กันสักนิด เพื่อที่เราจะได้ข้อมูลว่ามีเพื่อร่วมชั้นเรียนของพวกเขาคนไหนเจ็บป่วยกันบ้าง และถ้าพบว่ามีคนป่วยอยู่ใกล้ตัวลูก ก็ควรระมัดระวัง อาจให้ลูกใส่หน้ากากอนามัย พกเจลล้างมือใส่กระเป๋าไว้ให้ หรือเสริมอาหารกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกในมื้อที่บ้านด้วยก็ได้ สำหรับการระบาดของบางโรค ผู้ปกครองอาจต้องพา เด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ เป็นต้น
3. อย่าลังเลในการลาป่วย บางบ้านกังวลว่าลูกจะเรียนไม่ทัน ดังนั้นเมื่อเวลาพวกเขามีอาการป่วยที่ไม่หนักมาก ก็มักจะปล่อยให้ไปโรงเรียน ไปเรียนหนังสือร่วมกับเพื่อน ๆ ซึ่งการทำแบบนี้ก่อผลเสียถึง 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือทำให้เด็กเสี่ยงมีอาการหนักขึ้น ป่วยเรื้อรังนานขึ้น จากเดิมที่นอนพักเต็ม ๆ 1 - 2 วันก็ควรจะหายแล้ว อาจลากยาวไปเป็นสัปดาห์ อีกอย่างคือทำให้เด็ก ๆ เป็นตัวการแพร่เชื้อโรคไปสู่เพื่อน ๆ ด้วย ซึ่งเมื่อเด็กคนอื่นติดโรค ก็มักจะติดวนกันไปมาในชั้นเรียน อยู่แบบนั้น
4. ใส่ใจเมื่อลูกอยู่บ้าน การเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ สามารถทำได้จากที่บ้านเช่นกัน ยิ่งในปัจจุบันที่ลูกมีโอกาสได้รับมลภาวะจากหลากหลายช่องทางซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถในการป้องกันของเราด้วยแล้ว อย่างน้อย ๆ เมื่อลูกกลับบ้าน ลองฝึกเรื่องสุขลักษณะของพวกเขาให้ติดเป็นนิสัย เช่น การล้างเท้า ล้างมือ หรือช่วงนี้เข้มงวดเรื่องฝุ่นพิษหน่อย ก็อาจให้เด็ก ๆ อาบน้ำเลยเมื่อกลับถึงบ้าน นอกจากนั้นเรื่องอาหารการกินก็สำคัญ ใส่ใจให้พวกเขารับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้จะช่วยต้านโรคต่าง ๆ เป็นอย่างดี
5. เตรียมยาให้พร้อม ยาสามัญประจำบ้านถือเป็นคู่หูประจำตัวของคุณพ่อคุณแม่ที่มีความรอบคอบ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ สเปรย์พ่นจมูก ยาแก้คัน อุปกรณ์ทำแผลต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ควรมีติดบ้าน บางอย่างที่มีขั้นตอนการใช้ไม่ซับซ้อนมาก เช่น พลาสเตอร์ยา หรือสเปรย์ และเจลฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ก็สามารถใส่กระเป๋าไว้ให้ลูกติดตัวได้ หรือจะนำยาอีกชุดไปฝากคุณครูไว้ที่โรงเรียน เป็นการเพิ่มความมั่นใจสองต่อว่าลูกจะได้รับตัวยารักษาทันท่วงทีเวลาป่วยไข้ เป็นยาที่เรารู้จัก และมั่นใจว่าจะไม่เกิดอาการแพ้แก่ลูกน้อยแน่นอน
นอกจากการใส่ใจดูแลลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องดูแลสุขภาพของตัวเองด้วย เพราะหากเป็นฝ่ายป่วยขึ้นมาเสียเอง นอกจากจะทำให้ดูแลลูกน้อยของคุณได้ลำบากแล้ว ยังมีโอกาสที่จะพาเอาโรคมาติดลูกได้สูงนะคะ
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยความรู้ดี ๆ กับ “5 ช่องทางติดหวัดจากโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี” และเมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์นะคะ
ข้อมูลจาก The Asian Parent
|