เที่ยวเหนือ เดินป่า ตั้งแคมป์ไฟ ระวังไข้มาลาเรีย
หลังหยุดยาวปีใหม่แบบนี้ คงจะมีความสุขกันถ้วนหน้ากับการท่องเที่ยวใช่มั้ยคะ แต่สำหรับใครที่เพิ่งกลับมาจากการท่องเที่ยวป่าเขา ขึ้นเหนือ ตระเวนชายแดน ไม่ว่าจะไปตั้งแคมป์ หรือท่องเที่ยวตามน้ำตกลำธาร แม้จะอิ่มอกอิ่มใจกลับมากันแล้วก็ขอให้ดูแลสุขภาพกันด้วยค่ะ เพราะในป่าก็ยังมีภัยร้ายซ่อนอยู่ ทั้งไข้มาลาเรีย และอาการอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงอยากชวนทุกคนมาสังเกตอาการคนใกล้ชิดดูนะคะว่าเข้าข่ายดังนี้หรือไม่
ไข้ป่าไม่ไกลตัว แทบทุกปี กรมควบคุมโรคมักจะออกประการเตือนโรคไข้มาลาเรียสำหรับนักเดินป่า ไม่ว่าจะค้างคืนหรือเป็นการท่องเที่ยวชั่วครั้งชั่วคราวก็ตาม เพราะกิจกรรมการเดินป่า ตั้งแคมป์ นอนกางเต็นท์ หรือส่องสัตว์ในป่าดังกล่าว มีโอกาสถูกยุงกัดและเสี่ยงต่อการป่วยไข้มาลาเรีย โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเข้าป่าตามแนวชายแดน เนื่องจากยุงก้นปล่องที่นำเชื้อมาลาเรียจะพบมากบริเวณป่าเขาชายแดนของประเทศ
ไข้มาลาเรียคืออะไร ไข้มาลาเรีย หรือ ไข้ป่า มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ยุงชนิดนี้มีแหล่งเพาะพันธุ์บริเวณเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ เริ่มออกหากินเวลาใกล้ค่ำจนรุ่งสาง โดยหลังจากถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัดประมาณ 10-14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อน เหงื่อออก รู้สึกสบาย แล้วกลับมาเป็นไข้ใหม่อีกครั้ง ให้คิดว่าอาจเป็นไข้มาลาเรีย เพื่อให้การรักษารวดเร็ว เพราะหากช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตในที่สุด
เราจะป้องกันได้อย่างไร เมื่อจะต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดของมาลาเรีย ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังนี้ 1. สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน 2. ทายากันยุง 3. นอนในมุ้ง (ถ้าใช้มุ้งชุบน้ำยาจะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน) 4. ถ้านอนในห้องที่มีมุ้งลวด ควรพ่นยากันยุงก่อน
ไข้มาลาเรียเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าเราหมั่นสังเกตเพื่อป้องกันอาการร้ายแรงอย่างทันท่วงทีนะคะ ดังนั้นหากคนใกล้ตัวเริ่มมีอาการเป็นไข้หลังจากกลับมาจากป่า ก็ขอให้เฝ้าระวังกันไว้ให้ดีค่ะ เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้เท่าทันโรคนี้ได้แล้ว สำหรับใครที่ติดใจการเดินป่าหน้าหนาว อยากจะวางแผนไปเที่ยวกับครอบครัวอีกครั้งก็ลองนำวิธีการป้องกันไปใช้ในครั้งต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “เที่ยวเหนือ เดินป่า ตั้งแคมป์ไฟ ระวังไข้มาลาเรีย” และเมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์นะคะ
ข้อมูลจาก มหิดล, Voicetv
|