ไอแต่ละแบบ บ่งบอกอาการอะไรได้บ้างนะ
ว่าด้วยเรื่องของการไอ เมื่อมีอาการขึ้นมาแล้วก็สร้างปัญหาให้กับทั้งสมาชิกตัวเล็ก ๆ รวมไปจนถึงผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งไม่ว่าใครจะเป็นคนแรก ก็มีโอกาสแพร่เชื้อต่อให้คนอื่นได้ง่าย ๆ นั่นก็เพราะที่จริงแล้ว “ไอ” มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่สามารถแพร่เชื้อได้ และการไอที่เกิดจากความผิดปกติของเจ้าตัวเองโดยไม่มีเชื้อหวัดร่วมด้วย ดังนั้นเรามาเรียนรู้เพื่อรับมือให้ถูกกันดีกว่าค่ะ ว่าไอแต่ละแบบนั้นสามารถบอกอะไรได้บ้าง
1. ไอแห้ง ๆ ลักษณะอาการไอแบบแห้ง ๆ นั้น มักมีอาการคันระคายเคืองในคอร่วมด้วย และถ้าปล่อยไว้เรื่อย ๆ ก็อาจมีเสมหะตามมา ซึ่งโดยส่วนมาก การไอลักษณะนี้มักมีสาเหตุจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ไรฝุ่น หรือเชื้อไวรัสจากไข้หวัดลงคอ จนไปกระตุ้นให้ร่างกายแสดงออกผ่านอาการไอ และจะรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน ไอในลักษณะมีอะไรบางอย่างข้นเหนียวติดที่ลำคอ รวมทั้งเกิดอาการคันยุบยิบที่ตา อีกทั้งจามเป็นระยะ ๆ ก็สามารถบอกได้เลยว่ามีโอกาสแพร่เชื้อโรคหวัดให้ติดต่อกันได้นะคะ และอาจบ่งชี้ถึงโรคภูมิแพ้ได้ด้วย
2. ไอติดกันถี่ ๆ ลักษณะอาการ คือ ไอเร็ว ๆ รัว ๆ ติดกันเป็นระรอก พร้อมกับอาการหายใจไม่ค่อยสะดวก เป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่าอาจเป็นโรคหอบหืด เนื่องจากการไอพร้อมกับอาการหายใจติดขัด มักเกิดจากระบบทางเดินหายใจอักเสบ หรือติดเชื้อ ควรดูอาการให้ชัดเจนที่สุด โดยการสังเกตช่วงเวลากลางคืนหากดึกแล้วไอถี่ขึ้น ไอพร้อมหอบ และเจ็บหน้าอกทุกครั้ง หรือตอนออกแรงมาก ๆ จะยิ่งไอและหอบ เหนื่อยล้ามากเป็นพิเศษ แสดงมีความเสี่ยงจะเป็นโรคหืดหอบแล้วค่ะ
3. ไอหนักเป็นช่วงสั้น ลักษณะอาการ คือ มักไอหนักรุนแรงเป็นพัก ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลารับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ หรืออาจไอทุกครั้งที่นอน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือจากกรดในกระเพาะอาหารตีขึ้นมาทางหลอดอาหาร จึงทำให้รู้สึกระคายเคืองในลำคอ บางรายอาจมีแสบร้อนกลางอก และเสียงแหบทุกครั้งเมื่อไอด้วย
4. ไอตอนเช้าเรื้อรัง ลักษณะของอาการแบบนี้ มักจะเกิดในช่วงเช้าเป็นหลัก โดยส่วนมากจะไอถี่ และอาจมีเสมหะเจือปนมาด้วย บางทอาจรู้สึกแน่นหน้าอกขณะไอ หรือหายใจติดขัด ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมีความเสี่ยงของโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอักเสบ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมสูบบุหรี่นั่นเอง ดังนั้นถ้าใครมีอาการลักษณะนี้ควรตรวจให้ละเอียดนะคะ
5. ไอแห้งเบา ๆ ไอเบา ๆ เหมือนสำลักลมออกมา และมักเกิดขึ้นขณะรับประทานยา หรือสลับกับไออื่น ๆ ในช่วงป่วยลักษณะแบบนี้มักเกิดจากผลข้างเคียงของยาค่ะ โดยเฉพาะยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors ซึ่งยาลดความดันเหล่านี้จะมีผลกระทบให้เกิดอาการไอถึง 20%
6. ไอแห้งเสมหะข้น ถ้ามีเสมหะข้น ๆ ไม่ว่าจะเขียว เหลือง หรือแดงปะปนมาเมื่อไอ นั่นแสดงว่าคุณกำลังติดเชื้อเข้าแล้วค่ะ โดยระยะเริ่มแรกของการไอแห้ง ๆ นี้ เมื่อผ่านไป 2-3 วันถ้ายังไม่หาย และหนักขึ้น บางทีอาจเจ็บคอร่วมด้วย คุณมีความเสี่ยงจะเป็นโรคปอดบวมได้นะคะ
จะเห็นได้ว่าอาการที่คิดว่าไม่น่ามีอะไรอย่างการ “ไอ” ที่จริงแล้วอาจบ่งชี้ได้ถึงหลาย ๆ โรคทีเดียวค่ะ ดังนั้นอย่าลืมสังเกตอาการของตนเอง รวมไปถึงคนใกล้ชิดดูนะคะ ว่ามีอาการเข้าข่ายลักษณะไหน เพื่อที่จะได้แยกแยะ และรับมือให้ถูกต้องเหมาะสมค่ะ
มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการสังเกตการ “ไอแต่ละแบบ บ่งบอกอาการอะไรได้บ้างนะ” และเมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์นะคะ
ข้อมูลจาก Honestdocs
|