8 อย่างนี้เป็นสาเหตุการเกิดโรค...
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
มูลเหตุแห่งโรคในแผนไทย (พฤติกรรมก่อโรค)
1. อาหาร เป็นเหตุ เพราะอาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำมาเลี้ยงร่างกาย แต่ถ้าไม่ระวังในการบริโภค เช่น - ในการบริโภคมากเกินกว่าปกติ - โดยไม่รู้ประมาณในอาหารหรือตนเคยบริโภค เพียงไร - แต่บางครั้งบริโภคน้อยกว่าที่เคย - หรืออาหารนั้นเป็นของบูดของเสียและที่ควร - กินของดิบจะทำให้สุกเสียก่อนแต่ไม่ทำให้สุก - ของที่มีรสแปลกกว่าที่ตนเคยบริโภคก็บริโภคจนเหลือเกินไม่ชิมดูแต่พอรู้รส - และบริโภคอาหารไม่ตรงกับเวลา ที่เคย เช่น ตอนเช้าเคยบริโภคอาหารไม่ได้บริโภค ปล่อยให้ล่วงเลยไปจนเวลา - การไม่ระวังในการรับประทาน ได้แก่ รับประทานมากเกินไปจนเกินกำลังธาตุ - กินน้อยเกินไปจนไม่เพียงพอกับร่างกาย - หรือทานอาหารที่บูดเน่า - พฤติกรรมการกินเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ธาตุแปรปรวนได้
2. อิริยาบถ มนุษย์ทั้งหลายควรใช้อิริยาบถให้ผลัดเปลี่ยนกันตามปกติ 4 อย่าง คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมากไป - ถ้าหากอยู่ในท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป - หรือไม่ใช้นานๆ ร่างกายและเส้นเอ็นก็จะเปลี่ยนแปลงและเกิดความผิดปกติไป เส้นเอ็นไม่ได้ผลัดเปลี่ยนไปบ้าง เส้นเอ็นก็จะแปรไปจากเป็นปกติ ทำให้เกิดโรคได้
3. ความร้อนและเย็น - บุคคลที่เคยอยู่ในที่ร้อน ไปถูกความเย็นมากไปก็ดี - หรือเคยอยู่ในที่เย็นไปถูกความร้อนมากไปก็ดี เช่น เคยอยู่ในร่มต้องออกไปกลางแจ้ง เวลาแดดร้อนจัด ไม่มีอะไรกำบังหรือไม่มีพอที่จะกำบังได้ก็ดี - เคยอยู่ในที่เปิดเผยต้องไปอยู่ในที่อับอบอ้าวร้อนมากไปก็ดี - หรือผู้ที่ต้องไปถูกฝนถูกน้ำค้างและลงไปแช่อยู่ในน้ำนานๆ ก็ดี เหตุเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดโรคได้ จัดได้ชื่อว่าโรคเกิดเพราะความร้อนและเย็น
4. อดนอน อดข้าว อดน้ำ
- เมื่อถึงเวลานอนไม่นอน ต้องทรมานอยู่จนเกินกว่าเวลาอันสมควร - หรือถึงเวลากินข้าวแต่ไม่ได้กินโดยที่มีเหตุจำเป็นต้องอด - อยากกินน้ำไม่ได้กิน ต้องอดต้องทนไป ย่อมเป็นเหตุทำให้เกิดโรคได้จัดได้ชื่อว่าโรคเกิดเพราะอดนอน อดข้าว อดน้ำ แต่หาก ปล่อยให้ล่วงเลยเวลาไปมากธาตุจะแปรปรวน
5. กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ตามธรรมดา อุจจาระ ปัสสาวะเมื่อถึงคราวจะตกแต่กลั้นไว้ไม่ให้ตกปล่อยให้ล่วงเลยเวลา ไปมากกว่าสมควร ทั้งอุจจาระและปัสสาวะเป็นของเสียที่ร่างกายต้องการขับออกมาภายนอก ดังนั้นการกลั้นให้สิ่งเหล่านี้ตกค้างอยู่ภายในร่างกายย่อมเป็นสาเหตุให้ธาตุแปรปรวนได้ก็แปรปรวน ไปจากความเป็นปกติเป็นหนทางทำให้เกิดโรคได้ จัดได้ชื่อว่าโรคเกิดเพราะกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
6. ทำการเกินกำลังกาย - การเกินกำลังในที่นี้หมายรวมถึงทั้งทางร่างกายและความคิด เช่น การยก แบก หิ้ว หาม ฉุด และลากสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินกว่ากำลังของตนเอง หรือวิ่งกะโดดด้วย ออกกำลังแรงมากเกินไปก็ดี ย่อมทำให้อวัยวะน้อยใหญ่ไหวเคลื่อนผิดปกติ - ตลอดจนถึงการใช้ความคิดหมกมุ่นในเรื่องหนึ่ง ๆ หรือหลายเรื่องมากเกินจนเกิดเป็น ความเครียดโดยไม่รู้ตัว - หรือต้องคิดต้องทำงานต่าง ๆ โดยที่ต้องเหน็ดเหนื่อยเพราะต้องใช้ความคิดและ กำลังกายมากเกินกว่าปกติก็ดี เหล่านี้ชื่อว่าทำการเกินกำลังกาย ย่อมทำให้เกิดโรค ได้ จัดได้ชื่อว่าโรคเกิดเพราะทำการเกินกำลัง
7. ความเศร้าโศกเสียใจ บุคคลที่มีความทุกข์ร้อนมาถึงตัวก็เศร้าโศกเสียใจ จนถึงแก่ลืมความสุขสำราญที่เคยมีเคย เป็นมาแต่ก่อนเสีย ความเศร้าหมอง หดหู่ ท้อแท้มีแต่ความทุกข์นอกจากจะเป็นเหตุให้เบื่ออาหาร แล้วยังส่งผลให้น้ำเลี้ยงบำรุงหัวใจที่เคยผ่องใสก็ขุ่นมัวและเหือดแห้งจนทำให้เกิดโรคได้ ที่สุดอาหารที่บริโภคเคยมีรส ก็เสื่อมถอยหรือละเลยเสียก็มี เมื่อเป็นเช่นนี้น้ำเลี้ยงร่างกายที่ผ่องใสก็ขุ่นมัวเหือดแห้งไปก็ย่อมจะให้เกิดมีโรคขึ้นในกายได้ ชื่อว่าโรคเกิด เพราะความเศร้าโศกเสียใจ
8. โทสะ
บุคคลที่มีโทสะอยู่เสมอ ไม่มีสติที่จะยึดหน่วงไว้ได้ย่อมทำกิริยาฝ่าฝืนร่างกายละทิ้งความบริหารร่างกายของตนเสียจนถึงทอดทิ้งร่างกาย หรือทุบตีตัวเอง เช่นนี้ก็ทำให้เกิดโรคได้นี้ชื่อว่าโรคเกิดเพราะโทสะ บุคคลที่มีโทสะในจิตใจอยู่เสมอย่อมไม่ค่อยมีสติรับรู้เรื่องต่าง ๆ ซึ่งผลสุดท้ายย่อมทำให้เกิดโรคได้
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทั้งสิ้น ในคนปัจจุบันพบมากเรื่องอาหาร และทำงานเกินกำลังของตนทั้งเรื่องงานและความคิด เรื่องจิตใจมีสื่อชวนให้เกิดอุบายในทางอกุศลย่อมมีโทสะ โมหะ โลภะ มาก เป็นต้น...
|