ไข้หัวลม โรคที่มาช่วงเปลี่ยนฤดู เคยรู้สึกบ้างไหมคะว่า เวลาเปลี่ยนอากาศทีไร เรามักจะมีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว รู้สึกเสมหะติดคอบ้าง ไม่สบายตัว แต่ก็ไม่ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ เป็นที่หงุดหงิดใจยิ่งนัก โดยเฉพาะคนทำงานอย่างเรา ๆ ทำให้ทำงานทั้งทีไม่เต็มที่อย่างไรก็ไม่รู้ พอไปคุยกับคนแก่ก็ได้รับคำตอบมาว่า "ไม่ต้องแปลกใจหรอก ช่วงนี้เค้าเรียกไข้หัวลม คนเป็นกันเยอะ ทำแกงส้มดอกแคกิน เดี๋ยวก็หาย" เราก็ฟังแล้วกลับมาคิดว่า ทำไมต้องเป็นแกงส้มดอกแคด้วย อาหารอย่างอื่นพอจะมีบ้างหรือไม่ เราก็ต้องรู้จัก อาการไข้หัวลมกันก่อน ไข้หัวลม ก็คือ ไข้เปลี่ยนฤดูนั่นเอง จะร้อนเป็นฝน ฝนเป็นหนาว หรือหนาวเป็นร้อน เรียกเหมือนกันหมด (สรุปว่ามีอยู่ 3 หัว (ลม)) อาการโดยทั่วไปจะเริ่มต้นด้วยระวิงระไวไอจาม และอาจมีอาการมีน้ำมูกร่วมด้วยก็ได้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เพลีย เหนื่อย วัดไข้แล้วมักจะไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการเปลี่ยนอากาศ ถ้าเป็นช่วงนี้ จากฝนเป็นหนาว ตามแพทย์แผนไทยบอกว่าร่างกายมีไอความร้อนค้างอยู่ตอนหน้าฝน พออากาศเย็นลงอย่างรวดเร็ว ปรับตัวไม่ทัน เกิดภาวะธาตุไฟพิการ ก็เลยป่วยได้ ในคนที่มีภูมิต้านทานดีก็จะไม่มีอาการใด ๆ แต่ในคนที่ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดอ่อน จะป่วยง่ายมาก คนโบราณเลยมีวิธีป้องกันก่อนที่จะป่วยล้มหมอนนอนเสื่อกันเสียก่อน โดยเริ่มจากอาหารการกินง่าย ๆ ก่อนจะไปถึงยา ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คืออาหารเย็น ไม่ว่าจะเป็นอาหารเย็นทางกายภาพ เช่น น้ำแข็ง หวานเย็น ไอศกรีม ผลไม้ แตงโม แอบเปิ้ล หรือผลไม้ที่อยู่นอกฤดูกาล สรุปแล้วหนาวนี้ ใช้อาหารเป็นยากันก่อนเกิดโรค ส่งเสริมสุขภาพแล้วอย่าลืมการพักผ่อนที่เพียงพอ นอนแต่หัวค่ำ (โดยเฉพาะเด็ก ๆ) และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะรอดพ้นจากไข้หัวลมได้อย่างน่าภาคภูมิใจคะ ที่มา สสส. ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก health.kapook.com |
ไข้หัวลม โรคที่มาช่วงเปลี่ยนฤดู |
|
|